ในตำราจีน กล่าวไว้ว่า ศาลเจ้าที่จีน ( ตี่จู้ ) เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ที่ใกล้ชิดมนุษย์มากที่สุด ท่านเป็นผู้ที่ทำหน้าที่ดูแลปกปักษ์รักษาผู้อยู่อาศัยในบ้าน ดังนั้นการที่เจ้าของบ้านจัดสถานที่อยู่อาศัยให้กับท่านที่คุ้มครองเรา อันจะเป็นการนำมาซึ่งความสมบูรณ์พูนสุขของผู้อยู่อาศัยภายในบ้าน ยิ่งกว่านั้นมีความเชื่อกันว่า ท่านจะช่วยส่งเสริมดวงชะตาของเจ้าของบ้านไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของโชคลาภทรัพย์สินเงินทอง อำนาจ บารมี สุขภาพร่างกาย และยังรวมไปถึงความผาสุขของผู้อยู่อาศัยภายในบ้าน ดังนั้น คนไทยเชื้อสายจีน และ คนจีนในไทย จึงนิยมตั้ง ตี่จู้
หลักทั่วไปในการตั้งตี่จู้
1. ตี่ แปลว่า ดิน จู้ แปลว่า เจ้า ดังนั้น ตี่จู้ ต้องติดดินจึงจะมีพลัง ยิ่งไปกว่านั้นการเลือกวัสดุที่อยู่ในธาตุดิน นั้นก็คือหิน หรือ หินอ่อน จะทำให้ ตี่จู้ สามารถดูดซับพลังอำนาจจากดินได้ดี
2. หากยกฐาน ฐานนั้นต้องเป็นดินหรือหินและทึบตัน
3. ด้านหลัง ตี่จู้ ควรเป็นที่นิ่ง ผนังทึบ
4. ด้านหน้า ตี่จู้ ควรเป็นที่โล่ง ( เหม่งตึ๊ง ) ไว้รองรับ โชคลาภบารมี
5. เมื่อนับจากประตู หากตั้งลึกเกินกว่า 8 เมตร ควรยกสูง เพื่อให้ ตี่จู้ สามารถมองมาด้านหน้าได้สะดวกขึ้น
6. หากพื้นของ ตี่จู้ ต่ำกว่าถนน ให้ยกฐานขึ้นสูงเท่ากับถนน
7. บริเวณที่ตั้ง ตี่จู้ ต้องมีแสงสว่างพอสมควร ไม่มืดทึบจนเกินไป
8. หากวาง ตี่จู้ ลงในตู้โชว์ จะต้องเว้น พื้นที่ด้านข้าง ซ้ายขวา และ ด้านบน
9. ด้านใต้ ตี่จู้ ไม่จำเป็นต้องใส่สิ่งใด ดังนั้นฐานที่เรียบ ทำจากดินหรือหิน ทึบตันคือมั่นคง ดีที่สุด
10. ขนาดที่ใช้ ให้เป็นไปตามความเหมาะสมของพื้นที่ ใหญ่เกินไป - เล็กเกินไปก็ไม่เหมาะสม ขาดบารมี
11. กรณีที่ ตี่จู้ พิงบันได สามารถแก้ไขได้โดย การนำแผ่นหินแปะติดบันได แผ่นหินควรมีขนาดใหญ่กว่า ตี่จู้ เปรียบเสมือนภูเขาคือมั่นคง12. ตี่จู้ ไม่จำเป็นต้องเป็นสีแดงเสมอไป ( ที่ใช้สีแดงเพราะตามความนิยมสืบต่อกันมา )
13. ปัจจุบัน ตี่จู้ นิยมทำด้วยหินอ่อน หินหยก สอดคล้องกับธาตุดิน ทั้งยัง แข็งแรงทนทาน สวย
ปึงเถ่งกงหินอ่อน
|
ตี่จู้หินอ่อน
|
ตัวอย่างการตั้งปึงเถ่ากง และ ตี่จู้