- นำหินอ่อนที่จะปูมาจัดเรียงดูก่อน เพื่อจัดเรียงลวดลายของหินให้เป็นไปในทิศทางเดียวกันและให้ลายของหินต่อเนื่องกันไป
- เมื่อจัดเรียงดูลวดลายเป็นที่น่าพอใจแล้วให้ใช้ดินสอน้ำมันที่เขียนหินหรือกระจก (สามารถลบหรือล้างออกได้) มาเขียนเรียงนัมเบอร์ของหินเพื่อให้ง่ายต่อการจดจำก่อนนำปู
- พื้นผิวที่จะปูต้องเป็นพื้นซีเมนต์หยาบและสะอาดได้ระดับดีพอสมควร นำหินอ่อนที่จัดลวดลายไว้แล้วมาปูตามหมายเลขที่เขียนไว้ โดยใช้ปูนซีเมนต์ขาวผสมทรายที่ล้างสะอาดแล้วเป็นตัวรองพื้น ในขณะที่ปูหินให้ทำการจัดระดับของหินให้ได้ระดับเดียวกัน เมื่อมีน้ำของปูนที่ปูมาเปื้อนบนหน้าหินให้รีบหาผ้าสะอาดมาเช็ดออกโดยเร็ว เนื่องจากปูนจะไปเกาะหน้าหินทำให้เป็นฝ้าทำให้ความเงางามจะหายไป เมื่อปูเสร็จแล้วให้นำผ้าสะอาดหรือเครื่องขัดพื้นมาขัดเช็ดทำความสะอาดทั้งหมดอีกครั้ง
ในกรณีที่ต้องการปูหินอ่อนให้ได้คุณภาพดีที่สุด โดยการใช้น้ำยากันซึมและน้ำยาประสานคอนกรีต ให้ดำเนินการดังนี้
- นำแผ่นหินอ่อนมาล้างให้สะอาดอีกครั้ง และนำไปตากแดดให้แห้งสนิทจริงๆ
- เมื่อนำหินอ่อนตากแดดจนแห้งสนิทแล้วในขณะที่หินยังร้อนอยู่ ให้รีบนำหินไปจุ่มในอ่างน้ำยากันซึม จะทำให้น้ำยากันซึมซึมเข้าเนื้อหินได้ดียิ่งขึ้น
- นำหินที่จุ่มน้ำยากันซึมแล้วไปตากลมให้แห้ง ห้ามวางซ้อนทับกัน โดยจัดวางหินตะแคงเอาขอบลง และใช้เศษหินชิ้นเล็กๆ วางคั่นไว้
- นำแผ่นหินอ่อนที่ผ่านการคัดเลือกลาย และจุ่มน้ำยากันซึมเรียบร้อยแล้วมาทาน้ำยาประสานคอนกรีตด้านหลัง หรือผสมน้ำยาประสานคอนกรีตลงในปูนทรายที่คัดสะอาดมาปูบนพื้นคอนกรีตที่ทำความสะอาดเตรียมไว้เรียบร้อยแล้วให้เป็นแนวตามที่ต้องการ และจะต้องระวังน้ำปูนที่อาจล้นขึ้นมาในร่องจะต้องหมั่นเช็ดให้สะอาด
- ทิ้งไว้ให้คอนกรีตแข็งตัว จึงใช้ปูนยาแนวยารอยต่อของแผ่นหินอ่อน และเช็ดทำความสะอาดหน้าหินอ่อนให้สะอาดอีกครั้ง อย่าทิ้งให้น้ำปูนหรือปูนยาแนวติดค้างหน้าหินอ่อนจนแห้ง จะทำให้ผิวหน้าหินอ่อนเป็นคราบฝ้า ทำให้ความสวยงามลดลง
- ในกรณีที่ปูหินอ่อนเสร็จแล้ว หากผิวหน้าของหินอ่อนมีคราบน้ำยาหลงเหลืออยู่หรือไม่ขึ้นเงา ให้ใช้แปรงขัดประเภทแปรงขนแกะหรือแปรงใยมะพร้าวขัดซ้ำจะทำให้พื้นผิวมีความเงางามดียิ่งขึ้หมายเหตุ : การปูหินอ่อนตามกรรมวิธีข้างต้น จะทำให้มีค่าใช้จ่ายในการปูแพงกว่าวิธีที่ไม่ใช้ยากันซึม
หมายเหตุ : การปูหินอ่อนตามกรรมวิธีข้างต้น จะทำให้มีค่าใช้จ่ายในการปูแพงกว่าวิธีที่ไม่ใช้ยากันซึม